30 สิงหาคม 2552

...ทะเลเเหวก...

ทะเลแหวก ลึกล้ำเข้าไปกลางทะเลลึกแห่งอันดามัน ช่วงเวลาหนึ่งที่เรานั่งเรือชมเกาะรูปร่างสวยงามแปลกตา ใครจะเชื่อว่า อีกชั่วข้ามเวลาหนึ่งทะเลที่เราผ่านมาชั่วครู่ จะลดระดับน้ำดุจทะเลแหวกออก จนกลายเป็นหาดทรายขาวสะอาดเชื่อมเกาะสามเกาะอย่างอัศจรรย์ ทะเลแหวกเป็นกลุ่มของเกาะ 3 เกาะ ที่มีหาดทรายเชื่อมติดกันได้แก่ เกาะทับ เกาะหม้อ และ เกาะไก่ ท่านสามารถเดินข้ามจากเกาะไก่ไปยังเกาะทับได้ในยามน้ำลง หากจะให้ดีก็ควรจะเป็นในช่วงน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อนและหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ในอดีตนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือ มาตกปลา มากางเต้นท์ นอนนับดาวในคืนเดือนแรม หรือชมแสงจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ ค้างคืนบนเกาะได้ แต่ปัจจุบัน ไม่อนุญาตให้นอนค้างแรมบนเกาะแล้ว ทะเลแหวกถือว่าเป็นไฮไลท์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของกระบี่เลยทีเดียว มาเที่ยวทะเลกระบี่ทั้งที ต้องมาเที่ยวทะเลแหวกให้ได้สักหนึ่งหน

เกาะทัพ เป็นเกาะเล็กๆ มีหาดทรายเฉพาะด้านใต้ ยามน้ำลด หาดทรายทางด้านใต้นี้ จะเชื่อมต่อกับแนวสันทรายของเกาะปอดะนอก กลายเป็นสะพานธรรมชาติยาวประมาณ 200 เมตร แม้จะเป็นหาดทรายเล็กๆ แต่เม็ดทรายละเอียดและขาวมาก น้ำทะเลใส

เกาะหม้อ เป็นโขดหิน ไม่มีชายหาดให้ขึ้นไปบนเกาะ น้ำทะเลใสสะอาด เกาะหม้อ อยู่ห่างจากเกาะทัพ
เพียง 70 เมตร หากน้ำลดจะมีสันทรายเชื่อมต่อกัน สามารถเดินจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะหนึ่งได้

เกาะปอดะนอก หรือ เกาะไก่ หรือเกาะด้ามขวาน เกาะรูปร่างประหลาด ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อเกาะอันหลากหลาย เนื่องจากชะง่อนผาที่ยื่นออกมาทางด้านใต้ ทำให้ผู้พบเห็นเกิดจินตนาการต่างๆกันไป บ้างก็เห็นเกาะคล้ายกับส่วนหัวของไก่ บ้างก็เห็นเป็นด้ามขวานที่วางตั้งอยู่ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวกลับมองเห็นเป็นป็อบอาย ตัวการ์ตูนดังในสมัยยังแรกรุ่น หรือบางท่านอาจจะยังอยู่ในวัยอ่อนเดียงสา กำลังนอนคาบไปป์อย่างมีความสุข ท่านสามารถดำผิวน้ำชมปะการังน้ำตื้น หรือปะการังแข็งได้ที่เกาะไก่นี้ แต่ความสมบูรณ์ของปะการังก็คงไม่อาจเทียบเท่ากับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆที่ห่างไกลจากผืนแผ่นดินใหญ่ ความประทับใจที่ท่านจะได้พบ ก็คงจะเป็น หาดทรายขาวทอดยาว เคียงคู่ไปกับน้ำทะเลสวยใส กับปลาลายเสือฝูงใหญ่ ที่มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ ที่มักจะมารอคอยต้อนรับ และ พร้อมที่จะเล่นกับผู้มาเยือนอยู่เสมอ

....ประวัติธงชาติสยาม...จากอดีตถึงปัจจุบัน....

...ธงชาติสยาม...















ธงชาติไทยจะมีตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานเชื่อกันได้ว่าน่าจะเกิดขึ้น ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศลกล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2223 เรือรบของฝรั่งเศสชื่อ เลอรโวตูร์ มีมองซิเออร์ คอนูแอน เป็นนายเรือ ได้นำเรือเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรีและการค้า นายเรือได้สอบถามทางกรุงศรีอยุธยา ถ้าจะยิงสลุตให้แก่ชาติไทย เมื่อเรือผ่านป้อมวิไชเยนทร์ (ปัจจุบันคือป้อมวิชัยสิทธิ์) ตามประเพณีของชาวยุโรป จะขัดข้องหรือไม่สมเด็จพระนารายณ์ทรงอนุญาต และรับสั่งให้เจ้าเมืองบางกอก คือ ออกพระศักดิ์สงคราม ให้ทางป้อมยิง สลุตตอบด้วย ในการที่เรือรบฝรั่งเศลจะยิงสลุตให้นั้น ทางป้อมจะชักธงชาติขึ้น แต่เวลานั้นธงชาติไทยยังไม่มี จึงชักธงชาติฮอลันดาขึ้นแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุต เพราะเห็นว่าไม่ใช่ธงประจำชาติไทย และแจ้งให้ทราบว่า หากไทยประสงค์จะให้ฝรั่งเศสยิงสลุตให้เอาธงฮอลันดาลง แล้วชักธงอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นแทน เผอิญในสมัยนั้นผ้าแดงเป็นผ้าที่หาได้ง่ายกว่าผ้าอื่น ไทยจึงทำธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วชักขึ้น ฝรั่งเศสจึงยิงสลุตให้นับตั้งแต่นั้นมาไทยก็ถือเอาธงสีแดงเป็นธงชาติไทย




















































































29 สิงหาคม 2552








การป้องกัน




  1. การป้องกันทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ล้างมือบ่อยๆ กรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ call acenter ให้ประชาชนสอบถามสถานการณ์ของโรคได้ที่หมายเลข 0-2590-3333


  2. เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป เชื้อที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก หากป่วย และมีอาการดังกล่าว ควรสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด ประชาชนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ล้างมือบ่อยๆ